ธุรกิจ

ตรวจบ้านชลบุรีด้วยตัวเอง ต้องดูและเตรียมอะไรบ้าง

ตรวจบ้านชลบุรีด้วยตัวเอง ต้องดูและเตรียมอะไรบ้าง? คนทั่วไปในจังหวัดชลบุรีหรือพื้นที่อื่นๆที่ไม่ได้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง หรือไม่มีประสบการณ์โดยตรงในเรื่องการสร้างบ้าน เมื่อกำลังได้เป็นเจ้าของบ้านใหม่ ไม่ว่าจะซื้อจากโครางการบ้านจัดสรร หรือเป็นการว่าจ้างสร้างบ้านโดยผู้รับเหมา บริษัทบ้านก็ตาม เมื่อมาถึงขั้นตอนที่จะต้องตรวจรับบ้าน ความกังวลใจย่อมจะเกิดขึ้น เพราะการตรวจบ้านมีรายละเอียดปลีกย่อยที่จะต้องดูมากมาย หากตกหล่นไปแล้ว การจะแก้ไขในภายหลังก็กลายเป็นเรื่องใหญ่และยุ่งยากได้ เมื่อต้องตรวจบ้านด้วยตัวเอง คำถามก็คือ จะต้องตรวจดูอะไรบ้าง ที่นี่เรามีคำตอบมาให้

ตรวจโครงสร้างและรอยต่อของบ้าน

สิ่งสำคัญที่ต้องดูประการแรกคือโครงสร้างบ้าน ซึ่งดูได้จากรอยต่อของเสา ผนัง กำแพง รอยต่อของส่วนปูนและวงกบว่ามีความเรียบร้อยแค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่าส่วนนี้อาจจะดูยากสักหน่อยเพราะเป็นส่วนที่ซ่อนอยู่ภายใน แต่ก็พอจะดูได้บ้างว่าไม่ร้าว ผนังไม่เอียง เป็นต้น

ตรวจระบบน้ำและไฟ

ระบบไฟต้องดูว่าการเดินไฟเป็นไปอย่างเรียบร้อย ปลั๊กทุกจุดใช้การได้ดี สวิตช์เปิดปิดแล้วแสงสว่างติดดี ต้องลองกดเปิดปิดหลายรอบเพื่อเช็คระบบของน้ำดูการไหลและระบายของท่อน้ำ ลองเปิดน้ำว่ามีแรงน้ำพอดีไหม น้ำไหลลงท่อไม่มีจุดรั่วซึม หรือติดขัด กดชักโครกดูว่าน้ำลงดีไหม

ตรวจพื้นบ้าน พื้นห้องน้ำ ขั้นบันไดและกระเบื้อง

พื้นบ้านมีความเรียบเสมอ การปูพื้นกระเบื้องเสมอ ยาแนวเรียบร้อย ตัวขั้นบันไดเรียบไม่มีจุดสะดุด หากมีการตกแต่งด้วยบัวติดผนัง ลองดูว่าเรียบร้อยแข็งแรง ไม่แตกร่อนหลุดง่าย ติดเป็นแนวดี

ตรวจในส่วนของหลังคา

หลังคาต้องไม่มีจุดที่รั่วซึม ฝ้าเพดานติดตั้งเสมอ จุดรอยต่อตกแต่งได้เรียบเนียนดี สังเกตตามริมหน้าต่างและกันสาด ไม่มีรอยน้ำซึมจาง ๆ เพราะถ้ามีแสดงว่าฝนสาดหรือน้ำรั่วนั่นเอง

ตรวจหน้าต่าง ประตูและช่องแสง

ตัวหน้าต่างประตู จะต้องลองเปิดปิดให้ดี ดูว่าบานไม่ตก ปิดได้สนิท เปิดไม่ฝืด กลอนและตัวล็อค ลูกบิดใช้การดี ปิดล็อคได้แน่นหนา

ตรวจรายละเอียดปลีกย่อยเบ็ดเตล็ด

อาจจะมีจุดอื่นๆ ที่เป็นปลีกย่อยเบ็ดเตล็ด เช่น การตกแต่งที่เป็นพิเศษ สีสันที่ทางบ้าน ซึ่งแต่ละบ้านอาจจะมีรายละเอียดในส่วนนี้แตกต่างกันออกไป ก็ต้องสังเกตดูรายละเอียดว่าช่างทำได้เรียบร้อยไหม

การตรวจรับบ้านในจ.ชลบุรีจึงไม่ควรรีบร้อน ให้ตรวจหลายรอบจนพอใจ และตกลงพูดคุยกับทางทีมช่างหรือทีมส่งงานให้เข้าใจตรงกัน และไม่ควรเกรงใจหรืออะลุ่มอล่วยในส่วนที่จำเป็นต้องแก้ไขข้อบกพร่อง เพราะถ้าไม่เคลียร์ให้ดีในวันนี้ วันหน้าเมื่อรับมอบบ้านแล้วก็จะแก้ไข หรือปรับปรุงส่วนต่างๆ อีกได้ยาก ต่อไปคือเรื่องตรวจบ้านด้วยตัวเอง ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ตรวจบ้านด้วยตัวเอง

เมื่อบ้านที่ซื้อหรือสั่งสร้างไว้นั้นมาถึงขั้นตอนที่เสร็จสมบูรณ์ ทางบริษัทบ้านหรือผู้รับเหมาได้แจ้งให้ไปตรวจบ้าน หลายคนคงจะรู้อยู่บ้างแล้วว่าต้องตรวจจุดใดบ้างและตรวจอะไรบ้างคร่าว ๆ แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักลืมหรือไม่ทันนึกถึงก็คือ การเตรียมตัวก่อนไปตรวจบ้านนั่นเอง มาดูว่าเราควรจะเตรียมอะไรบ้างเพื่อให้การตรวจรับบ้านครั้งนี้ราบรื่นและได้บ้านที่สวยงามสมบูรณ์

วันเวลานัดหมายและเตรียมเอกสาร

ควรจะนัดเข้าตรวจบ้านตั้งแต่ช่วงเช้า ไม่ควรนัดในช่วงบ่ายหรือเย็น เพราะเมื่อแสงสว่างธรรมชาติหมดจะทำให้การตรวจสอบลำบากขึ้น เตรียมเอกสารคือ พวกใบปิดใบปลิว หรือใบสัญญาของโครงการที่บอกถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของบ้าน ว่าโครงการหรือผู้รับเหมาได้ทำสัญญาไว้ว่าจะทำสิ่งใดหรือมีสิ่งใดให้บ้าง ไว้สำหรับตรวจดูว่าได้ตามที่ระบุไหมและควรจะแจ้งทางโครงการหรือผู้รับเหมาล่วงหน้าว่า ขอบันไดสูงเพื่อใช้ปีนดูตามช่องเพดาน หรือช่องเซอร์วิส ระเบียงดาฟ้า ตามจุดต่าง ๆ ด้วย

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมไปใช้ในการตรวจบ้าน

หลายคนไปตรวจแบบตัวเปล่าเข้าไปเดิน ๆ ดูตามจุดต่าง ๆ โดยที่ไม่มีอุปกรณ์ตัวช่วยอะไรไป ทำให้การตรวจไม่มีประสิทธิภาพพอ ภายหลังอาจต้องมานั่งเสียดายว่า รู้อย่างนี้เอานั่นมา เอานี่มาด้วยก็ดี เราจึงรวบรวมไว้ให้ตรงนี้ว่า คุณควรนำอะไรไปด้วยบ้าง

กระดาษเปล่าที่ตีตารางไว้และดินสอ ยางลบ

เตรียมกระดาษสัก 1 แผ่นเขียนแปลนบ้านแบบดูง่าย ๆ ไว้ และมีตารางเป็นช่องหัวข้อ และช่องรายละเอียดที่ยังไม่ดีพอต้องปรับแก้ เตรียมดินสอไปด้วย ใช้เป็นดินสอจะได้ลบออกได้สะดวกถ้าต้องการ กระดาษแผ่นนี้เมื่อตรวจเสร็จแล้วก็นำไปถ่ายเอกสารไว้ได้ด้วย

เทปกาวแบบลอกไม่ติดแผ่นผิว ชอล์ก

เอาไว้สำหรับมาร์คจุดต่าง ๆ ที่ต้องการแจ้งช่างและผู้รับเหมา

ตลับเมตร

เอาไว้วัดพื้นที่จุดต่าง ๆที่ต้องการ

กรรไกรและคัตเตอร์

เตรียมไปเผื่อต้องตัดอะไร

ถังน้ำ

เอาไว้สำหรับใส่น้ำเทพื้นที่ต่าง ๆ เช่นพื้นห้องน้ำ ลานซักล้าง ชายคา เพื่อทดสอบการไหลระบายของน้ำ และการรั่วซึม

ไฟฉาย

ไว้ส่องดูบริเวณที่อับแสงให้เห็นชัดเจน ตามมุมซอก

ไม้ตรงที่ได้ฉาก

ไว้สำหรับวัดแนวระนาบ เพื่อตรวจสอบจุดต่าง ๆว่าตรงดีไม่เบี้ยว

ผ้าผืนเล็ก ๆ

ใช้อุดท่อทดสอบน้ำขัง ใช้เช็ดบริเวณรอยต่าง ๆ ทดสอบว่าสามารถเช็ดออกไหม และไว้เช็ดมือที่เปื้อน

ลูกแก้ว

เอาไว้กลิ้งทดสอบพื้นลาดเอียง

ไขควงวัดไฟ

ไว้เช็คระบบไฟรั่ว

เพียงเท่านี้คุณก็พร้อมแล้วที่จะไปตรวจบ้านได้อย่างครบถ้วนและมั่นใจได้แล้วล่ะ

jirawatisme

Mumeaw คือกลุ่มผู้ที่มีใจรักในการเดินทาง ผจญภัย พบเจอกับสิ่งใหม่ๆรอบตัวบนโลกอันกว้างใหญ่ เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอสิ่งสวยงามที่จะทำให้โลกนี้น่าอยู่มากยิ่งขึ้นในทุกๆด้าน