เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นสำคัญที่ควรรู้จัก
เครื่องช่วยหายใจ ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองหรือสำหรับผู้ป่วยที่หายใจด้วยตัวเองได้แต่ว่ายังไม่สมบรูณ์ 100 % แต่ว่าวิธีการทำงาน ตลอดจนลักษณะๆ มีหลายคนมากที่รู้จักมันเพียงน้อยนิด วันนี้เราจึงอยากนำเสนอถึง คุณลักษณะต่างๆ และวิธีการใช้งานของเครื่องช่วยหายใจ เพื่อประโยชน์กับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ ในการรักษา และดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
มาทำความรู้จักเครื่องช่วยหายใจกันเถอะ
เครื่องช่วยหายใจมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปแต่ว่าเครื่องช่วยหายใจส่วนใหญ่จะประกอบด้วยส่วนหลักๆเหล่านี้
- ส่วนที่ปรับตั้งค่า (setting)
- Tidal Volume; VT Respiratory Rate; RR
- Peak Inspiratory Flow; PIF
- I : E ratio; Inspiratory: Expiratory ratio
- Positive End Expiratory Pressure; PEEP
สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นพื้นฐานการตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจส่วนใหญ่ที่ทุกเครื่องจะต้องมี
- ตัวควบคุมความชื้นและควบคุมอุณหภูมิ (heated humidifier)
เพื่อควบคุมความชุ่มชื่นและอุณหภูมิ ของออกซิเจนให้คงที่ไว้ประมาณ 32-34 องศาเซลเซียส และมีระบบปล่อยพ่นละอองฝอย ซึ่งจะสามารถทำให้ยาที่เป็นตัวขยายหลอดลมซึ่งมีสถานะเป็นน้ำทำให้เกิดการแตกตัวเป็นละอองเล็ก ๆ ลอยไปในท่อลำเลียงสู่ทางเดินหายใจอย่างคงที่
- ระบบสัญญาณเตือนอันตราย (alarm setting)
เป็นการตั้งค่าไว้ไม่ให้สูงหรือต่ำไปกว่าเกณฑ์ปกติ เช่น สำหรับอัตราการหายใจในรูปแบบที่ปกติจะต้องไม่ต่ำกว่า 10-12 ครั้ง/นาที และต้องหายใจแบบที่ไม่เหนื่อยหอบเกิน 35 ครั้ง/นาที เมื่อเราปรับตั้งค่าดังนี้หากว่าผู้ป่วยหายใจน้อยกว่า 10 ครั้ง/นาที หรือว่ามากกว่า 35 ครั้ง/นาที เครื่องช่วยหายใจจะมีเสียงเตือนขึ้นทันที และเครื่องอาจร้องเตือนได้อีกหลายกรณีเช่น low pressure alarm เนื่องจากสภาวะที่แรงดันก๊าซที่เข้าตัวเครื่องไม่น้อยเกินไปจากข้อต่อระหว่างสายของออกซิเจน (pipeline) หลวม สายในวงจร (circuit) รั่ว หรือว่าหลุดออกจากกัน high pressure alarm หรืออาจจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยไอ จนมีเสมหะอุดตันในทางเดินหายใจ เป็นต้น
การตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจที่ควรรู้
- A/Cส่วนมากจะตั้ง RR ไว้ที่ 10-12 ครั้ง/นาที เพื่อให้ผู้ป่วยได้ออกแรงกระตุ้นเครื่องบ้างเป็นบางครั้ง การตั้ง mode นี้หากว่าผู้ป่วยหยุดหายใจหรือว่าเริ่มมีอัตราการหายใจที่ลดลงเครื่องช่วยหายใจจะยังคงทำงานตามค่าที่ตั้งไว้ตามปกติ แต่ถ้าหากปรับตั้งค่าอัตราการหายใจมากเกินไปนั้น เช่น ตั้งอัตราการหายใจเอาไว้ที่26 ครั้ง/นาที จะทำให้ผู้ป่วยหายใจเร็วจนเกินไป
- CMVเป็น mode ที่เครื่องช่วยหายใจ จะทำงานแทนการหายใจทั้งหมดโดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องทำอะไรเลยใช้ในกรณีที่มีภาวะหายใจล้มเหลวหรือในกรณีที่อยู่ในช่วงหลังจากการผ่าตัดทรวงอก จึงจำเป็นจะต้องลดแรงในการหายใจเช่น การตั้งค่าเอาไว้ที่ 20 ครั้ง/นาที เครื่องจะช่วยผู้ป่วยตลอดโดยที่ไม่ต้องออกแรงกระตุ้นเครื่อง แต่ข้อควรระวังคือ ยิ่งใช้ mode นี้มากเท่าใดก็จะยิ่งปลดเครื่องช่วยหายใจยากมากขึ้น
- IMVคือ mode สลับไปมา ระหว่างให้เครื่องทำงานทั้งหมด และให้ผู้ป่วยหายใจเองเป็นบางครั้ง เช่น กำหนดค่าการหายใจเท่ากับ 8 ครั้ง/นาที เครื่องจะจ่ายก๊าซให้การหายใจ 8 ครั้ง/นาที ถ้าผู้ป่วยต้องการหายใจมากกว่านี้ต้องหายใจเอาเอง การตั้งค่าใน mode นี้ในระหว่าง 6 วินาทีเมื่อเครื่องจ่ายก๊าซเข้าไปซึ่งตอนนั้นผู้ป่วยหายใจออกมาพอดีก็จะทำให้ต้านกับการหายใจของเครื่อง ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาปรับเวลาให้สัมพันธ์กับการหายใจเรียกว่า mode SIMV
หลักที่ควรรู้ในการใช้เครื่องช่วยหายใจ
เมื่อเราใช้เครื่องช่วยหายใจมาได้สักระยะ และอาการของผู้ป่วยเริ่มดีขึ้น จนสามารถหายใจเองได้บ้างแล้ว เราจะต้องรีบลดความเข้มของออกซิเจนลงเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพิษจากการที่ได้รับออกซิเจนมากจนเกินไป นอกจากนี้ การที่เราใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อและสภาวะเส้นประสาทอ่อนแรง ซึ่งจะทำให้ปลดเครื่องช่วยหายใจได้ลำบาก
CPAP เป็นการปรับให้ความดันบวกตลอดเวลาในช่วงการหายใจ คือ เมื่อตั้ง mode นี้เครื่องจะให้ความดันบวกอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะหายใจเข้าหรือออก ทำให้มีทั้งความดันบวกค้างในปอดตลอดเวลา จึงช่วยเพิ่มปริมาตรของปอด แต่การตั้ง mode นี้ผู้ป่วยต้องสามารถหายใจเองได้ด้วย
PSV เครื่องจะช่วยเพิ่มแรงดันให้มากขึ้น แต่ผู้ป่วยต้องสามารถหายใจเองได้แล้ว เริ่มจากผู้ป่วยกระตุ้นเครื่อง ให้เกิดแรงดันลบที่ -2, -3ตามค่าที่ตั้งไว้ในเครื่อง หลังจากนั้นเครื่องก็จะปล่อยแรงดันบวกผลจากแรงดันที่เพิ่มขึ้นทำให้ Tidal Volume เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
BiPAPจะมี 2 mode คือ PSV และ CPAP จะใช้ในกรณีที่ไม่ได้ใส่ท่อสำหรับช่วยหายใจ
Smart Care PS in Drager Evita XL คือ mode PSV ที่มีการปรับ PS ต่ำสุดทำให้ Tidal Volume, Respiratory Rate อยู่ในค่าปกติอยู่ตลอดเวลา มีเฉพาะในเครื่อง Evita 4 เท่านั้น
Pressure Regulator Volume Control เป็นการทำงานที่เหมือนกับ PCV mode แต่ต่างกันที่เครื่องจะคำนวณหาแรงดันว่าควรจ่ายก๊าซเท่าใดถึงจะได้ Tidal Volume คงที่ทุกครั้งในการหายใจ