พัฒนาการทารกในครรภ์ในแต่ละเดือน
ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการและเติบโตขึ้นทุก ๆ วัน การเติบโตและการเปลี่ยนแปลงนั้นล้วนแต่เป็นความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในร่างกายของคุณแม่ แต่ละวันแต่ละสัปดาห์ลูกน้อยมีพัฒนาการเป็นอย่างไรบ้าง ข้อมูลพัฒนาการทารกในครรภ์ที่ได้นำมาฝากกันจะทำให้คุณแม่จินตนาการได้ชัดเจนขึ้นว่าตอนนี้ลูกน้อยของคุณเติบโตแค่ไหนแล้ว
- เดือนที่ 1 เมื่อไข่ของคุณแม่ผสมกับอสุจิของคุณพ่อแล้วก็จะเคลื่อนตัวไปยังโพรงมดลูก ช่วงที่เคลื่อนไปตัวอ่อนก็จะเริ่มแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วจุดหมายปลายทางก็คือผนังมดลูก เมื่อไปถึงยังผนังมดลูกก็จะฝังตัวเข้าไปภายในผนัง ช่วงนี้คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะยังไม่รู้ตัวว่าได้มีการตั้งท้องแล้ว แต่ผู้หญิงจำนวนหนึ่งจะรู้สึกเจ็บที่ท้องน้อยในเวลาที่ตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกค่ะ
- เดือนที่ 2 หากคุณแม่ได้ไปตรวจกับคุณหมอและทำการอัลตร้าซาวด์ คุณแม่จะได้เห็นหัวใจดวงน้อย ๆ เต้นอย่างชัดเจน ตัวอ่อนของทารกมีรูปร่างให้เห็นชัดเจนแต่จะมีขนาดของศีรษะที่ใหญ่กว่าส่วนตัว ในเดือนที่สองนี้ขาและแขนของเจ้าตัวน้อยเริ่มงอกออกมาแล้วค่ะ
- เดือนที่ 3 ในเดือนนี้ลูกน้อยมีหน้าตาที่เห็นได้อย่างชัดเจน แต่ก็ยังคงหลับตาอยู่แขนขามีความสมบูรณ์เรียวยาว ลูกน้อยดูดนิ้วขดตัวอยู่ในโพรงมดลูก สามารถกลืนน้ำคร่ำได้ แต่ด้วยขนาดตัวที่ยังเล็กอยู่การพลิกตัวและดิ้นของแกคุณแม่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นค่ะ
- เดือนที่ 4 ลูกน้อยโตขึ้นมาก คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของลูกค่ะ เริ่มมีการทำงานของไตและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ มีขนอ่อน ๆ ขึ้นที่บริเวณต่าง ๆ ของผิวหนัง อวัยวะเพศเห็นได้ชัดเจนเป็นเดือนที่คุณหมอจะทำอัลตร้าซาวด์และระบุเพศได้ ลูกน้อยได้ยินเสียงของคุณแม่แล้วนะคะ
- เดือนที่ 5 เจ้าตัวน้อยมีกำลังวังชาเพิ่มมากขึ้นมาก กล้ามเนื้อพัฒนาและแข็งแรง การดิ้นแต่ละครั้งแม้แต่คุณแม่มือใหม่ท้องแรกก็สามารถรู้สึกได้ค่ะ ลูกจะรับรู้สัมผัสได้มากทั้ง เสียง กลิ่นและรสชาติ มีการสร้างเหง้าฟันภายในเหงือกน้อย ๆ และมีไรผมขึ้น แต่ทว่าดวงตายังคงปิดอยู่ ทารก 5 เดือนในครรภ์เริ่มขับถ่ายได้แล้ว
- เดือนที่ 6 ถ้าคุณแม่จะเปิดเพลงให้ลูกน้อยในครรภ์ฟัง คุณแม่อาจจะแปลกใจถ้ารู้ว่าลูกน้อยขยับตามเสียงเพลงได้ด้วยค่ะ และแกยังมีปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อคุณแม่พูดคุยกับแกด้วย ทั้งระบบการย่อยอาหาร ปอดและอวัยวะต่าง ๆ มีการทำงานที่เกือบสมบูรณ์
- เดือนที่ 7 เปลือกตาของลูกน้อยเริ่มเปิดเป็นครั้งแรก ช่างน่าอัศจรรย์ที่เวลากลางวันลูกน้อยมองเห็นแสงสว่างได้จากในครรภ์ ลูกของคุณเริ่มจดจำเสียงเต้นของหัวใจแม่ได้ อวัยวะต่าง ๆ พัฒนาไปจนใกล้สมบูรณ์ ทั่วทั้งร่างกายเล็ก ๆ เต็มไปด้วยไขปกคลุม หากมีการคลอดก่อนกำหนดในเดือนที่ 7 โอกาสที่จะรอดอย่างแข็งแรงนั้นเป็นไปได้สูงคุณแม่จึงไม่ควรกังวลนะคะ
- เดือนที่ 8 ลุกน้อยจะกลับตัวเพื่อเอาหัวลงเตรียมในท่าคลอด ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นการดิ้นจึงมีน้อยลง แต่อาจจะยังมีการถีบและดันตามปกติ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดเมื่อลูกน้อยขยับตัว จะมีอาการมดลูกบีบตัวเป็นระยะหรือที่เรียกกันว่าเจ็บท้องเตือนค่ะ
- เดือนที่ 9 ลูกน้อยมีความสมบูรณ์พร้อมอวัยวะทุกส่วนทำงานได้อย่างสมบูรณ์รอพร้อมที่จะออกมาสัมผัสกับโลกและสบตากับคุณแม่แล้ว สิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องคอยสังเกตและนับการดิ้นของลูกด้วย เป็นเวลาที่สามารถคลอดได้ตลอด คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมไว้เสมอด้วยนะคะ
เรื่องที่น่าสนใจ
- คนท้องเต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
- รีวิวชุดตรวจครรภ์
- วิธีตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง
- อาการคนท้อง 1 สัปดาห์
- จะรู้ได้อย่างไรว่าท้อง
- วิธีเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
- ทำไมต้องฝากครรภ์
- อาหารบำรุงครรภ์
- วิธีรับมือกับอาการแพ้ท้อง
- อาหารที่คนท้องไม่ควรกิน
- นมสำหรับคนท้อง
- ประโยชน์ของน้ำนมแม่
- วิธีลดอาการปวดหลังสำหรับคนท้อง
- การดูแลคนท้อง
- พัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละเดือน
- วิธีดูแลลูกในท้องให้แข็งแร็ง
การเตรียมพร้อมในการคลอดนอกจากร่างกายที่แข็งแรงพร้อมแล้ว คุณแม่ต้องเตรียมจิตใจให้พร้อมด้วยความสดชื่นแจ่มใส เพื่อให้การคลอดเป็นไปอย่างราบรื่นและลูกน้อยคลอดอย่างแข็งแรงค่ะ