อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ 8 ข้อที่เป็นสัญญาณว่ากำลังจะเป็นคุณแม่

การตั้งครรภ์โดยเฉพาะท้องแรกหรือที่เรียกกันว่าท้องสาว ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะยังไม่รู้ว่าตัวเองได้เริ่มตั้งครรภ์แล้วโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกค่ะ เพราะอาการต่าง ๆ ของคนที่เริ่มตั้งครรภ์ในช่วง 1-7 วันแรกที่ตัวอ่อนได้ปฎิสนธิยังไม่ปรากฏให้เห็นจนสังเกตได้ คุณแม่ส่วนใหญ่จะมารู้ว่าตนเองได้เริ่มตั้งครรภ์แล้วอย่างน้อยก็ราว ๆอายุครรภ์ได้สัก 1 เดือนขึ้นชึ้นไปแล้ว แต่ในช่วง 1 สัปดาห์แรกนั้นก็ยังมีอาการของคนท้องที่พอจะสังเกตได้อยู่ ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะมีอาการแตกต่างกันไปบางคนมีครบทุกอาการหรือบางคนมีเพียงบางอาการบ่งบอกดังนี้ค่ะ

 

1. ปัสสาวะบ่อย

เมื่อเริ่มท้องอ่อน ๆ จะมีความรู้สึกว่าปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ แม้จะดื่มน้ำในปริมาณเท่าเดิมในแต่ละวัน และถ้าสังเกตสีของน้ำปัสสาวะที่ออกมาก็จะมีสีที่เข้มขึ้นด้วยค่ะ นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อเริ่มกระบวนการตั้งครรภ์อุ้งเชิงกรานของผู้หญิงเราจะมีเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมากและมดลูกเริ่มขยายตัว ทำให้มดลูกเริ่มไปกดส่วนของกระเพาะปัสสาวะ จึงเริ่มปวดปัสสาวะถี่ขึ้นและจะถี่ขึ้นตลอดช่วงการตั้งครรภ์จนคลอดค่ะ สีที่ขุ่นของปัสสาวะนั้นมาจากความเข้มข้นของฮอร์โมนในร่างกายที่สูงขึ้น และอาการปัสสาวะบ่อยนี้เป็นอาการแรก ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนของการตั้งครรภ์ เป็นอาการที่เกิดขึ้นก่อนการแพ้ท้องอาเจียนหรืออาการอื่นก็ว่าได้ค่ะ

 

2. มีตกขาวมาก

ในช่วงแรกของของการตั้งครรภ์คุณผู้หญิงจะสังเกตได้ว่าด้วยฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป มีระดับฮอร์โมนและมีการเปลี่ยนแปลงภายในมดลูกและรังไข่ส่งผลให้มีตกขาวมากขึ้นแม้จะเป็นช่วงเวลาที่โดยปกติแล้วคุณผู้หญิงอาจจะไม่มีตกขาว แต่หากมีตกขาวออกมากก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังตั้งท้องได้

 

3. มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด

หลังจากตัวอ่อนปฎิสนธิแล้วก็จะมีช่วงเวลาที่ตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอเข้าไปฝังในผนังของมดลูก ทำให้เกิดมีเลือดออกทางช่องคลอดกระปริดกระปรอยแต่มีในปริมาณไม่มากหรือเรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็กนั้นเองค่ะ โดยผู้หญิงบางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือนที่มาน้อยมาก แต่ก็ควรสังเกตไว้ประกอบกับอาการอื่น ๆ ยิ่งถ้าใครที่ปกติประจำเดือนมาปริมาณมากแต่ครั้งนี้มาเพียงนิดเดียวแค่เปื้อนชั้นในแล้วหมดไป ก็สงสัยได้ว่าอาจเป็นการตั้งครรภ์ในระยะแรกค่ะ

 

4. ท้องผูก

อาการท้องผูกเป็นอีกอาการที่มักเกิดกับคนท้องอ่อน ๆ ช่วงสัปดาห์แรกและจะเกิดต่อเนื่องไปได้เรื่อย ๆ นั่นก็เป็นเพราะฮอร์โมนที่ปรวนแปรอีกเช่นกัน ทำให้รบกวนการทำงานของระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ไม่ดีนักค่ะ

 

5. ปวดท้อง

ระยะแรกผู้หญิงบางคนอาจมีอาการปวดท้อง แต่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย มักเป็นในช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูกและมีเลือดออกนั่นเอง แต่อาการปวดท้องมีเพียงไม่นาน ถ้าปวดท้องมากและเป็นเวลานานหลายวันคงต้องไปพบแพทย์ว่ามีความผิดปกติอย่างอื่นหรือไม่ค่ะ

 

6. อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น

อุณหภูมิของคนท้องจะสูงกว่าคนปกติอยู่แล้ว ในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ก็พบความผิดปกติของอุณหภูมิในร่างกายว่าตัวร้อนขึ้น คุณอาจจะรู้สึกตัวรุม ๆ คล้ายคนเป็นไข้ต่ำ ๆ แต่ไม่ได้มีอาการไม่สบายอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นไข้หวัด หรือไอ จาม นั่นอาจจะเป็นอาการชี้บ่งว่าเริ่มตั้งครรภ์แล้วและอุณหภูมิจะสูงอยู่เช่นนั้นสม่ำเสมอลอดช่วงระยะเวลาตั้งครรภ์

 

7. เหนื่อยง่ายอ่อนเพลีย หน้ามืด

เมื่อเริ่มเข้าสู่กระบวนการตั้งครรภ์ นั่นหมายถึงคุณกำลังหายใจแทนคนถึง 2 คนด้วยกันเพราะลูกก็ต้องการออกซิเจนด้วยและยังมีความปรวนแปรมากมายอันเกิดจากการเตรียมพร้อมของร่างกายเพื่อรองรับทารก ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียและถึงกับหน้ามืดได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในสัปดาห์แรกค่ะ

 

8. รู้สึกเมื่อยและปวดตามร่างกาย

อาการเมื่อยและปวดตามร่างกายอาจจะเกิดขึ้นพร้อมกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นของร่างกาย เป็นผลมาจากความปรวนแปรของฮอร์โมน แต่ถ้าจะสังเกตให้ดีอาการปวดเมื่อยเพราะการตั้งครรภ์จะมีความแตกต่างจากการปวดเมื่อยและอุณหภูมิสูงเพราะพิษไข้ อาการที่เกิดจากพิษไข้จะปวดเมื่อยระบมรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และไข้สูงขึ้น หมดแรงและซม แต่อาการปวดเมื่อยร่างกายจากการตั้งครรภ์จะมีอาการปวดเมื่อยแต่น้อยและอุณหภูมิสูงขึ้นไม่มากและไม่พัฒนาสูงขึ้นจะคงที่ ไม่มีอาการซมสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้

 

7. หงุดหงิดง่าย

ทั้งฮอร์โมนที่ปรวนแปรและความรู้สึกไม่สบายของร่างกายส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิดง่ายขึ้น อารมณ์หงุดหงิดพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ค่ะ

 

8. ประจำเดือนขาดหาย

เมื่อถึงช่วงกำหนดของรอบประจำเดือน แต่ประจำเดือนไม่มาล่าช้าไปเกินเวลาหลายวันประกอบกับมีอาการต่าง ๆ ข้างต้นหลายประการก็อาจจะเดาได้แล้วว่าเป็นอาการของการตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกค่ะ

เรื่องที่น่าสนใจ

ในสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์นั้นหากจะตรวจการตั้งครรภ์ด้วยที่ตรวจการตั้งครรภ์ทั่วไปก็อาจจะยังไม่สามารถตรวจได้ชัดเจน เพราะปริมาณของฮอร์โมนบ่งบอกการตั้งครรภ์ยังอยู่ในปริมาณน้อยเกินไป แต่ถ้าว่าที่คุณแม่ท่านใดลองสังเกตตนเองตามอาการที่ได้กล่าวไปก็อาจจะพอทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ได้คร่าว ๆ ก่อนนะคะ เพื่อจะได้ดูแลร่างกายให้พร้อมสำหรับลูกน้อยต่อไป เมื่อครบ 3-4 สัปดาห์แล้วก็ให้ตรวจด้วยที่ตรวจการตั้งครรภ์ หรือไปพบแพทย์เพื่อความแน่ใจค่ะ