พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งโอซาก้า ที่เที่ยวโอซาก้าเชิงอนุรักษ์

ใครที่มาเที่ยวโอซาก้าแล้วสังเกตเห็นตึกสีเทารูปทรงเรียงยาวไปสองฝั่ง บนลานกว้างท่ามกลางสนามหญ้า นั่นคือที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งโอซาก้า ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่โอซาก้าแห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงทั้งนิทรรศการถาวรและนิทรรศการเวียน การบรรยายเนื้อหารวมถึงกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

ที่นี่รวบรวมอนุรักษ์และเผยแพร่องค์ประกอบทุกอย่างที่แสดงถึง สิทธิมนุษยชน ทั้งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ และการถูกต่อต้าน กลุ่มสตรีคนพิการและปัญหาสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์คือเพื่อกระจายการรับรู้สิทธิมนุษยชนและนำไปสู่การพัฒนาของมนุษย์มากขึ้น อย่างที่รู้กันอยู่ว่าวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความอ่อนไหวมาก

พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษญชนแห่งโอซาก้า ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองโอซาก้า เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่อุทิศเพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศญี่ปุ่นเน้นของการจัดแสดงนิทรรศการถาวรเป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศ เช่น ชาวไอนุฮอกไกโด ชาวชนกลุ่มน้อยแห่งโอกินาวาและชุมชนของญี่ปุ่นเชื้อสายจีนและเกาหลี นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการที่ทุ่มเทให้กับปัญหาการเลือกปฏิบัติมีผลกระทบต่อคนในด้านสิทธิเกี่ยวกับเพศทางเลือก เช่นผู้หญิงในกลุ่มเลสเบี้ยน, เกย์, ไบเซ็กชัวล์ และคนด้อยโอกาสอย่าง ผู้พิการทางร่างกายและผู้ที่รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูฮิโรชิมาและนางาซากิ นับว่าเป็นที่เที่ยวโอซาก้าเชิงอนุรักษ์ที่น่าสนใจแห่งหนึ่งเลยทีเดียว

พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนของญี่ปุ่นตั้งอยู่ในสถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นโรงงานทำหนังหรือฟอกหนัง ( Kawamachi Kawa ) ซึ่งตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น หลักการของศาสนาชินโต (ศาสนาพื้นเมืองของญี่ปุ่น) ได้ถือกันว่าคนกลุ่มที่การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต และการทำงานเกี่ยวกับชิ้นส่วนสิ่งมีชีวิต เช่นหนังสัตว์ที่ไม่สะอาดเป็นเรื่องน่ารังเกียจ และถือเป็นกลุ่มคนต่ำและไม่ควรคบหา ไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ในสังคม

สมัยนั้นคนทั่วไปห้ามไม่ให้สวมใส่รองเท้าหนัง แต่เครื่องหนังก็เป็นที่ต้องการเช่นการขึงกลองหนัง กลองที่ผลิตใน คาซามาจิ ถูกนำมาใช้สำหรับพิธีในวัด ชิเทนโนจิและปราสาทโอซาก้าในช่วงศตวรรษที่ 18ในขณะที่มีความต้องการสินค้าเครื่องหนังในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น แต่คนงานฝีมือที่สร้างงานหนังเหล่านี้กลับถูกผลักไสให้เป็นกลุ่มคนที่ต่ำต้อยที่สุดของสังคม พวกเขาถูกแยกและปฏิเสธโอกาสที่คนอื่น ๆ ได้รับ และพวกเขาถูกแยกให้อาศัยและทำงานอยู่ใน คาวามาชิ

ดังนั้นจึงไม่แปลกเลย เมื่อก้าวเข้าสู่พิพิธภัณฑ์จะได้พบกับอนุสาวรีย์ของกลุ่มคนทำกลองที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสิทธิมนุษยชนของญี่ปุ่น และกลุ่มคนที่เรียกว่า บูราคามิ ซึ่งรวมถึง คนที่เป็นเพชฌฆาต สัปเหร่อและคนงานโรงฆ่าสัตว์เช่นเดียวกับคนงานหนัง ที่ถูกเหยียดชนชั้นในสมัยโบราณ

พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งโอซาก้าก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 1985 ภายในพิพิธภัณฑ์จัดเก็บเอกสารการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนด้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติญี่ปุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของการขยายตัวของการส่งเสริมความตระหนักในสิทธิมนุษยชนทั่วประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก

หากได้มาเที่ยวชมยังพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แน่นอนว่าจะได้เข้าใจมากขึ้นถึงหลักคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันและการปฎิบัติต่อคนในสังคมของชาวญี่ปุ่นได้มากขึ้น เช่น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นจัดให้มีรถไฟและรถไฟใต้ดิน และมีรถยนต์สาธารณะต่าง ๆ ที่สงวนไว้สำหรับผู้หญิงเท่านั้น ผนังด้านหนึ่งของจุดชมนิทรรศการได้บอกกล่าวเล่าเรื่องราวนี้ไว้เปป็นภาพของ ขณะที่ขี่รถไฟใต้ดินสาย มิโดสึจิ ของโอซากาผู้หญิงที่กำลังถูกผู้ชายสองคนสัมผัสลวนลามในขบวนโดยสาร ชายผู้หนึ่งลวนลามเธอจนรถไฟมาหยุดสุดท้าย แล้วพวกเขาก็ข่มขืนเธอ ผู้โดยสารคนอื่น ๆ ไม่ได้ทำอะไรเพื่อช่วยให้เธอ เป็นภาพสะท้อนที่สะเทือนใจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดอยู่ในส่วนแรกของพิพิธภัณฑ์ที่มีทั้งหมด 3โซนที่เรียกว่า ‘แสงสว่างและการอยู่ร่วมกัน

ในส่วนที่ 2 ชื่อว่า การสร้างสังคม’ และ ‘ความฝัน อนาคต’ แสดงความหลากหลายของผู้คนทั้งพื้นเมืองและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่อยู่ในพื้นที่โอซาก้า) และการเลือกปฏิบัติที่ว่า คนบางส่วนได้รับประสบการณ์การถูกปฎิบัติที่แตกต่างของพวกเขาจากคนอื่น ๆ ชาวเกาหลีที่ถูกนำมาเป็นเชลยและกลุ่มชาวหมู่เกาะที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น

ส่วนที่ 3 จะสิ้นสุดที่ทัวร์สิ้นสุดความสว่างให้กำลังใจให้เราใช้บทเรียนที่ได้เรียนรู้ที่จะทำให้อนาคตที่ดีกว่า

การบรรยายผ่านเครื่องเสียง วีดีทัศน์ และบรรยายใต้ภาพเป็นตัวอักษรโดยรวมมีภาคภาษาอังกฤษประกอบ แต่หากต้องการชมพิพิธภัณฑ์ให้รู้เรื่องราวเนื้อหาได้ละเอียดและเข้าใจขึ้นก็ควรมีไกด์ที่รู้ภาษาญี่ปุ่นอย่างดีมาช่วยนำเที่ยวอธิบายให้ด้วย

แผนที่พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนโอซาก้า

พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนโอซาก้าเปิดให้บริการตั้งแต่ 10:00น.-17:00น. ของทุกวัน จะปิดทุกวันจันทร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

นอกจากส่วนแสดงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่างๆ ยังมีส่วนแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมและการแต่งกาย ความเป็นอยู่ของคนกลุ่มน้อยที่ด้อยสิทธิต่าง ๆ ห้องสมุดที่ได้รวบรวมทั้งเอกสาร หนังสือและเทปเสียง ซีดีบรรยายทั้งในภาษาไทยและภาอังกฤษด้วย เราไปเที่ยวโอซาก้าที่อื่นๆกันต่อเลยค่ะ